Roof of the House : รู้จักหลังคา ก่อนมีบ้านเป็นของตัวเอง


2019-09-16 16:47

จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน : 363

หลังคา” เป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาคารที่มีความสำคัญมาก ทั้งในเรื่องของการป้องกันความร้อน ฝน ลม และความหนาวเย็น รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้อาคารได้เป็นอย่างดี โครงสร้างและวัสดุที่นำมาทำเป็นหลังคาควรเลือก ชนิดที่ทนไฟ ทนทานต่อสภาพอากาศภายนอก และเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี โดยทั่วไปบริเวณใต้หลังคาควรมีพื้นที่เพียงพอ ต่อการติดตั้งอุปกรณ์ของงานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ โดยมีระยะห่างระหว่างฝ้ากับหลังคาอย่างน้อย 30 เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับรูปแบบของหลังคาที่เรามักเห็นและนิยมกัน ได้แก่ หลังคาจั่ว (Gable Roof) หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) หลังคา คอนกรีตเรียบ (Flat Slab Roof) เป็นต้น การพิจารณาว่าจะเลือกใช้หลังคาแบบใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งรูปแบบของอาคารด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกรูปแบบหลังคาที่เหมาะกับบ้านในเมืองไทย

  1. ควรมีชายคายื่นออกมามากพอที่จะป้องกันแสงแดดและไม่ให้ฝนสาดเข้ามา ทางหน้าต่างบ้านทั้งสี่ด้าน  โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกซึ่งมีแดดจัดที่สุด
  2. หลังคาไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป  และควรมีความลาดชันมากพอที่จะทำให้ น้ำฝนไหลลงได้สะดวก  เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมหลังคาได้ง่าย
  3. รูปแบบของหลังคาไม่ควรซับซ้อนมากเกินไป  เพราะจะมีปัญหาเรื่องการรั่วซึม ของน้ำตรงรอยต่อของหลังคาได้
  4. พื้นที่ใต้หลังคาต้องใหญ่พอที่จะให้มวลอากาศร้อนซึ่งลอยสูงไม่ส่งผ่านไปยังห้อง ด้านล่างได้เร็ว  และต้องมีการระบายอากาศเพื่อให้อากาศร้อนใต้หลังคาถ่ายเท ออกนอกบ้านได้  โดยอาจทำช่องระบายอากาศที่หน้าจั่วของหลังคาหรือฝ้าที่ชายคา และอาจติดฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคาร่วมด้วย  ก็จะช่วยให้บ้านมีสภาวะ น่าสบายมากขึ้น  ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกใช้หลายแบบ  อาทิ  แบบใยแก้วและแบบพอลิเอทิลีน

หลักการออกแบบหลังคาที่ป้องกันการรั่วซึมได้ดี

• ใช้หลังคาทรงสูง  มีความชันตั้งแต่ 30 – 45 องศา

• อย่านำหลังคาหลายชนิดมาประกอบกัน  เพราะรอยต่อที่เกิดขึ้นคือจุดอ่อน ที ่อาจทำให้เกิดการรั ่วซึมของน้ำฝน

• โครงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานตามรูปลักษณ์ของหลังคามีโอกาสมากที่จะเกิดการ แอ่นตัว  เป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมลงมาได้  จึงต้องพิจารณาถึงขนาดและความแข็งแรงของโครงสร้างด้วย

• องค์ประกอบต่างๆ ของหลังคาเป็นจุดอ่อนที่น้ำฝนจะไหลผ่านได้  จึงควรออกแบบองค์ประกอบนั้นๆ ให้กันน้ำฝนได้

• หลังคาแบนใช้ได้กับบ้านทุกแบบ แต่หลังคาประเภทนี้มีการถ่ายเทน้ำได้ช้า รอยเจาะท่อระบายน้ำต่างๆ เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย  รวมถึงแนวเชื่อมชนกับโครงสร้างต่างๆ ก็เป็นจุดอ่อนที่น้ำจะขังและค่อยๆ ซึมผ่านตัวพื้น หลังคาลงไปได้

รูปแบบของหลังคา

หลังคาจั่ว (Gable Roof)

     ผืนหลังคามีความลาดเอียงสองด้านชนกันที่ปลายสูงสุดของหลังคา สันสูงอยู่ตรงกลาง  เป็นหลังคาบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไป  เหมาะกับสภาพภูมิ- อากาศร้อนชื้นของบ้านเรา  เพราะจะมีมวลอากาศอยู่ใต้หลังคามาก  จึงเป็น เหมือนฉนวนกันความร้อนได้อย่างดี  หากเจาะช่องระบายอากาศที่หน้าจั่วทั้ง สองด้านก็จะช่วยระบายอากาศร้อนออกไปได้ดียิ่งขึ้น  ก่อสร้างก็ง่าย  กันแดด กันฝนได้ดี

     อย่าลืมติดตั้งฉนวนกันความร้อน ชนิดที่สามารถติดตั้งใต้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาระหว่างแป เพื่อป้องกันความร้อน ที่จะผ่านเข้ามา ฝ้าชายคาที่ทำเป็นระแนงเว้นร่องช่วยในการระบายอากาศร้อนที่สะสมใต้หลังคาได้ดี ควรติดตั้งตะแกรงลวดก่อนไม้ระแนงเพื่อป้องกันนกและแมลงเข้าไปอาศัย

     หลังคารูปแบบนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงนสองผืนหันด้านที่ต่ำกว่า มาชนกัน  ไม่ค่อยเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไร เนื่องจากต้องมีรางรองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้งสองด้าน  ซึ่งมีโอกาสรั่วซึมได้สูง ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะที่ดูแปลกตา  ก็อาจแก้ไขด้วยการทำรางน้ำ ให้กว้างและลึกขึ้น  เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนที่ตกชุกของบ้านเราได้ทัน

หลังคาปีกผีเสื้อ (Butterfly Roof)

     อย่าลืมติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดที่สามารถติดตั้งใต้แผ่น กระเบื้องมุงหลังคาระหว่างแป  เพื่อป้องกันความร้อน ที่จะผ่านเข้ามา รางน้ำฝนทำจากเหล็ก หรืออะลูมิเนียมพับตามแบบ ลึก 25 เซนติเมตร  กว้าง 60 เซนติเมตร ทำความลาดเอียงไปยังทั้งสองด้านของหลังคา  และมีทางระบายออกของน้ำฝนด้วย ติดตั้งแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ บนโครงคร่าวไม้หรือเหล็ก สำหรับปิดบังรางน้ำ เพื่อความเรียบร้อย

จั่วกลายพันธุ์ 

     อาจมีการดัดแปลงบางส่วนของหลังคาให้ดูต่างไปจากหลังคาจั่วปกติ เช่น ตัดปลายชายคาให้โค้งมน  การยื่นชายคาสองข้างยาวไม่เท่ากัน  หรือการ ออกแบบให้หลังคาทั้งสองด้านมีความลาดเอียงไม่เท่ากัน  ไอเดียเหล่านี้สร้างความ แปลกใหม่และน่าสนใจให้หลังคาบ้าน  โดยที่ยังสามารถกันแดดกันฝนได้เช่นเดิม

หลังคาปั้นหยา (Hip Roof)

     หลังคารูปแบบนี้มีด้านลาดเอียงสี่ด้านขึ้นไปชนกัน  ได้รับความนิยมมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  สามารถกันแดดกันฝนได้ทุกด้าน  สวยงาม  ทนต่อการ ปะทะของแรงลมได้ดี  แต่ไม่มีหน้าจั่วเพื่อระบายอากาศร้อน  ดังนั้นอาจแก้ไขได้ ด้วยการติดระแนงไม้บริเวณฝ้าชายคา  อย่างไรก็ตาม  หลังคาแบบนี้มีจุดเชื่อมต่อ มากกว่าหลังคาแบบอื่นๆ  อาจทำให้เกิดปัญหารั่วซึมได้มากกว่าหากช่างผู้ติดตั้ง ไม่มีความชำนาญ

     ช่องระบายใต้ฝ้าชายคาทำให้บ้านเย็น  ดังที่กล่าวไปแล้วว่า  บริเวณใต้หลังคาจะมี ความร้อนสะสมอยู่ในมวลอากาศ  หากหาทางระบายอากาศร้อนเหล่านั้นออกไปได้ก็จะช่วยให้บ้านเย็นขึ้น  แนะนำให้ออกแบบฝ้าชายคารอบบ้านเป็นระแนง  วัสดุใช้ได้ทั้งไม้จริง  ไม้สังเคราะห์  และแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์  โดยเว้นร่องกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร  ให้ลมสามารถระบายออกได้  อย่าลืมติดตาข่ายบนฝ้าเพื่อป้องกันแมลงด้วย

     เสริมความสวยงามให้ปลายชายคา อาจใส่ลูกเล่นหรือรายละเอียดเพิ่มเติมให้หลังคา ดูน่าสนใจขึ้นได้  ด้วยการใช้เหล็ก  อะลูมิเนียม  หรือไม้ปิดส่วนปลาย  เก็บรอยต่อของฝ้าชายคาและปลายกระเบื้องหรือวัสดุมุงแผ่นสุดท้าย  แต่วัสดุที่เลือกใช้ต้องมีความทนทาน  สามารถโดนแดดและฝนได้ฝ้าชายคาของหลังคาทรงปั้นหยา นิยมทำเป็นแบบตรงตั้งฉากกับผนังเพราะจะดูลงตัวและสวยงามกว่า แบบที่เอียงไปกับโครงจันทันหลังคา

หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean-to Roof)

     หลังคาที่มีองศาลาดเอียงเพียงด้านเดียว  สมัยก่อนอาจนิยมใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราวหรืองานต่อเติมอาคารแบบง่ายๆ อย่างบริเวณชานพักนั่งเล่น โรงจอดรถ  หรือครัว  ปัจจุบันหลังคาทรงนี้เป็นที่นิยมในอาคารทุกประเภท เพราะก่อสร้างง่าย  มีรอยต่อน้อย  และดูทันสมัย  อีกทั้งโครงสร้างหลังคาไม่สลับ ซับซ้อนเหมือนหลังคารูปแบบอื่น  จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องโครงสร้างหลังคา ค่าแรง  และเวลา  ทว่าอาจบังแดดบังฝนได้จริงๆ เพียงทิศทางเดียว (ด้านที่หลังคาลาดต่ำกว่า)  อย่างไรก็ตาม  อาจแก้ไขด้วยการทำระแนงหรือกันสาดเพิ่มในส่วน ด้านที่สูงกว่าก็ได้

หลังคาทรงอิสระ (Free Form Roof)

     เป็นหลังคาที่ไม่อยู่ในรูปทรงเรขาคณิต  ออกแบบมาเพื่อให้หลังคาและ ตัวอาคารมีความโดดเด่น  วัสดุมุงหลังคารูปแบบนี้จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น สามารถบิดโครงและรองรับรูปทรงของหลังคาได้  เช่น  แผ่นหลังคายางมะตอย (Asphalt Shingle) หรือแผ่นโลหะรีดลอน (Metal Sheet)  แต่รูปทรงหลังคา ที่แปลกตาอาจก่อให้เกิดการรั่วซึมได้ง่ายเช่นกัน  ช่างต้องมีความชำนาญพอและ ใช้ความประณีตในการก ่อสร้าง

หลังคาเรียบ (Flat Slab Roof)

     ส่วนมากเป็นหลังคาคอนกรีต  มีลักษณะแบนราบเป็นระนาบเดียวกับพื้น  แต่ต้องมีความลาดเอียงเล็กน้อยเทไปยังช่องที่เจาะเพื่อระบายน้ำฝนออกไป  หรือ เทไปยังท่อระบายบนหลังคา (Roof Drain)  นิยมใช้สร้างเป็นหลังคาอาคารประเภท ตึกแถว  คอนโด  และบ้านสไตล์โมเดิร์น  พื้นหลังคาสามารถจัดเป็นพื้นที่ใช้สอย ได้อย่างเต็มที่  เช่น  วางถังเก็บน้ำ  ตากผ้า  นั่งเล่น  และจัดสวน  แต่หลังคา ประเภทนี้ดูดซับความร้อนและรับน้ำฝนโดยตรง  จึงต้องมีการป้องกันการรั่วซึมที่ดี เช่น  การผสมสารกันรั่วซึมในคอนกรีตระหว่างที่เทหลังคา  เมื่อคอนกรีตแห้งแล้ว ให้ทาผลิตภัณฑ์กันรั่วซึมฟลิ้นท์โค้ททับอีกที  ไม่ควรนำพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมาทำ หลังคา  เพราะมีรอยต่อซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้  และหากต้องการลดปัญหา เรื่องความร้อน  แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์สแล็บบนหลังคา  รวมทั้งติดฉนวนกัน ความร้อนเหนือฝ้าภายในห้องด้วย

หากท่านสนใจติดตั้งหลังคา โครงหลัง หรือบริการต่าง ๆของ กอล์ฟการข่าง เพื่อบ้านของคุณ "กอล์ฟการช่าง งานเล็ก งานใหญ่ เราใส่ใจคุณ" พร้อมให้บริการด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้คำปรึกษา ก่อนตัดสินใจ รับประกันความพึงพอใจของลูกค้า โดยทีมช่างมืออาชีพ ราคามิตรภาพพร้อมบริการทั้งหน้างานและบริการหลังการขายที่คุณต้องประทับใจ รับประกันงานดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพงครับ!